หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย

หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย (บ้านควาย) Buffalo Village วันและเวลาที่ชีวิตในชนบทได้เปลี่ยนแปลไป ที่อยู่อาศัย การทำเกษตรกรรม มีรูปแบบที่ทันสมัยขึ้น เพื่อรองรับกับความสะดวกสบาย จนรูปแบบเก่าๆ หาดูได้ยากลงทุกที และบางสิ่งอาจไม่มีใครเคยได้เห็น และบางสิ่งอาจสูญหายไปจากชีวิต บ้านควาย…คือสถานที่ที่รวบรวมเรื่องราว และรูปแบบวิถีชีวิตของคนในชนบท รูปแบบที่กำลังจะเลือนหายไป เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ไม่ควรพลาด หากมีโอกาสได้เดินทางมาท่องเที่ยวเมืองสุพรรณ ด้วยสุพรรณ เป็นจังหวัดที่มีอาชีพหลักคือการเกษตรกรรม และ “ควาย” ก็เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อการใข้งาน ที่มีวิถีชีวิตเคียงคู่กับคนสุพรรณโดยตลอดมา…. โทร: 0-3558-2891-2, 08-9036-4445 ควาย….กับ…คน ผูกพันกันมาแต่โบราณ โดยเฉพาะวิถีชีวิตคนไทยในอดีต เราได้ใช้แรงงานควายเพื่อการเกษตร จนสามารถพูดได้ว่า…. ควายคือชีวิตของคนไทย คนไทยในอดีต ยกย่อง ควาย ว่าเป็นสัตว์ที่มีบุญคุณ โดยจะทำขวัญควายเมื่อสิ้นฤดูไถหว่านเพื่อแสดงความกตัญญูต่อควาย สมัยก่อนเราจะไม่ฆ่าควายเพื่อกินเนื้อ แต่จะเลี้ยงดูอยู่ด้วยกันจนกว่าจะแก่เฒ่า และตายตามอายุขัย แต่ปัจจุบัน…หลายอย่างเปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาแทนที่ ทำให้คนมองคุณค่าของควาย ที่สำคัญและยิ่งใหญ่มาตั้งแต่อดีตกาลนั้น ได้สูญหายลงไปอย่างน่าเสียดาย… หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นส่วนหนึ่งของภาคกลางที่มีการทำนาอุดมสมบูรณ์มาช้านาน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 115 กิโลเมตร ซึ่งพบหลักฐานทางโบราณคดี มีอายุไม่ต่ำกว่า […]

อุทยานมังกรสวรรค์

อุทยานมังกรสวรรค์ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร หมู่บ้านมังกรสวรรค์ และ อุทยานพุทธบัญชา (พระยูไล) มหัศจรรย์งานสร้าง ด้วยแรงเงิน และแรงศัทธา สถานที่รวบรวมเรื่องราวที่มากคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ห้องเรียนที่น่าตื่นตาตื่นใจ และสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่อาจผ่านเลย  (ชมฟรี) ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สถานที่เคารพของชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นหนึ่งในสถานที่ที่ผู้คนต้องแวะเวียนมากราบไหว้ขอพร ที่ซึ่งหลายคนเชื่อว่า หากได้มากราบไหว้แล้ว จะนำมาซึ่งโชคลาภ ความร่ำรวย ความสำเร็จ และความสุข และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมเรื่องราว รูปแบบ วิถีชีวิตของชนชาวจีน ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชนชาวไทยเสมือนพี่กับน้อง เป็นสถานที่ที่สวยงาม ควรค่าแก่การแวะชม สถานที่สำคัญภายใน อุทยานมังกรสวรรค์ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นพุทธปฎิมากรรมสลักบนแผ่นหินแบบนูนต่ำ (Relief) ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งเป็นศาสนาที่ชาวจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ทิเบต ญวน เขมร นับถือ เป็นศิลปะแบบขอมเป็นรูปพระวิษณุกรรมสวมหมวกแขก ในศิลปะไพรกเม็ง อายุประมาณ 1300-1400 ปีมาแล้ว มีพระนามว่าพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือ พระนารายณ์สี่กร มีหน้าที่ช่วยเหลือมนุษย์ และเหล่าสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ ประสพแต่ความสุขความเจริญ เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ เจ้าแม่กวนอิม […]

คุ้มขุนแผน สุพรรณบุรี

คุ้มขุนแผน เป็นแบบบ้านเรือนไทย ที่ปลูกขึ้นตามแบบเรือนไทยในสมัยนั้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจ ได้ชมได้ศึกษารูปแบบของเรือนไทย ที่สวยงามและทรงคุณค่า ประกอบกับเรื่องราวที่เล่าขานกันต่อมานับร้อยปี…… เรือนไทยทรงโบราณ สร้างตามแบบไทยดั้งเดิม ประกอบไปด้วยเรือนใหญ่ตรงกลาง และมีเรือนลูกเชื่อมกันอยู่ด้านข้าง สร้างเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2525 โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี และประชาชนชาวจังหวัดสุพรรณบุรีร่วมบริจาคสมทบ สร้างเพื่อเป็นอุทยานวรรณคดี เป็นการอนุรักษ์ศิลปทางวรรณกรรม และประวัติศาสตร์เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ก่อสร้างเสร็จสิ้นลงในวันที่ 30 กันยายน 2527 รูปแบบเรือนคุ้มขุนแผน ลักษณะมีมุกยื่นออกมาด้านหน้า บันไดทางขึ้นกว้างเท่ากับมุกด้านหน้า ส่วนตรงกลางเป็นโถงกว้าง ด้านซ้ายและด้านขวาเป็นเรือนลูกเชื่อมต่อออกไป ด้านหลังมีเรือนครัวซึ่งจำลองห้องครัวในอดีต หลังของโถงกลางเรือน มีเจ้าแม่ตะเคียนทองอยู่ด้านใน มีประชาชนมากราบไหว้ และถวายชุดไทยของผู้หญิงจำนวนหลายชุดภายในห้อง บรรยากาศภายในคุ้มขุนแผน เมื่อเดินชมคุ้มขุนแผนในเรือนจนทั่วแล้วก็เดินลงมาที่สวนด้านหน้าซึ่งอยู่ติดแม่น้ำท่าจึน บรรยากาศร่มรื่นด้วยร่มเงาต้นไม้ใหญ่ และแวะกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิได้ที่ วัดแค ที่อยู่ติดกัน การเดินทาง คุ้มขุนแผน ตั้งอยู่ทางตะวันตกของตัวเมือง และแม่น้ำท่าจีน ระยะทางประมาณ 3-4 ก.ม. จากสถานีขนส่งสุพรรณ สามารถนั่งรถสองแถวรอบเมือง หรือบริการสามล้อเครื่องรับจ้าง   สอบถามข้อมูล องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี โทร. 035-525777 […]

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง Wat Pa Lelai Worawihan    กล่าวกันเสมอมาว่า ถ้ามาเมืองสุพรรณ แล้วไม่ได้แวะมากราบไหว้หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ก็เหมือนมาไม่ถึงเมืองสุพรรณ ด้วยที่วัดป่าเลไลยก์เป็นวัดสำคัญ คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสุพรรณ เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ในช่วงวันหยุดจะมีผู้คนมากมายมากราบไหว้ขอพร และยิ่งเป็นวันหยุดยาว จะเป็นที่ที่คนนิยมมากเป็นอันดับต้นๆของจังหวัดสุพรรณ … ถ้าหากมีโอกาสมาเมืองสุพรรณ สถานที่แรกที่ไม่ควรผ่านเลย… แวะชมความงดงามขอหลวงพ่อโต และกราบไหว้เพื่อเป็นศิริมงคล ประวัติวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร    เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่ามีอายุราว 1200 ปี ตั้งอยู่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าวัดป่า ภายในวิหาร เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต ปางป่าเลไลยก์ ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า … “ขณะนั้นพระเจ้ากาแต เป็นเชื้อมาแต่นเรศน์ หงษาวดี ได้มาเสวยราชสมบัติ แล้วมาบูรณวัดโปรดสัตววัดหนึง วัดภูเขาทองวัดหนึ่ง วัดใหญ่วัดหนึ่ง สามวัดนี้แล้ว จึงให้มอญน้อยเปนเชื้อมาแต่พระองค์ ออกไปสร้างวัดสนามไชย แล้วมาบูรณวัดพระป่าเลไลยในวัดลานมะขวิด แขวงเมืองพันธุมบุรีนั้น ข้าราชการบูรณวัดแล้ว ก็ชวนกันบวชเสียสิ้นสองพันคน จึงขนานนามเมืองใหม่ชื่อว่าเมืองสองพันบุรี แล้วพระองค์จึงยกนาเปนส่วนสัดวัดไว้ พระองค์อยู่ในสิริราชสมบัติ […]

สามชุก ตลาดร้อยปี

ย้อนเวลา … ค้นหาภาพความทรงจำที่อาจลืมเลือน ภาพอดีตที่ยังคงอยู่ แม้เวลาจะผ่านไปแสนนาน ตลาดเก่าที่มีชีวิต และคอยเล่าเรื่องราวของวันเวลาที่กำลังจะจางหายไปจากความรู้สึก และความทรงจำให้กับผู้คนที่ผ่านมายังตลาดแห่งนี้    ตัวอำเภอยังเป็นตลาดเก่าที่สร้างด้วยไม้เรียงติดกัน อยู่ริมฝังตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ภาพวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชน, สถาปัตยกรรมโบราณ เชิงชายไม้แกะสลัก อาคารพิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงค์ จีนารักษ์ – ร้านขายยาจีน – ไทยโบราณ – ร้านกาแฟโบราณ – ร้านถ่ายรูปโบราณ ฯลฯ ยังคงมีสภาพ และรูปแบบเดิมเหมาะแก่การอนุรักษ์ และรักษาให้เป็นบันทึกของชีวิตริมแม่น้ำท่าจีนอีกแห่งหนึ่ง ….. ร้านกาแฟท่าเรือส่ง (ถ.เลียบนที) ในอดีต..บ้านสามชุกได้ชื่อว่าเป็นท่าเรือทางการค้าที่สำคัญ และเป็นศูนย์กลางของจังหวัด ผู้ที่เดินทางจากตัวเมืองไปอำเภออื่นๆที่เลยออกไป จำเป็นต้องหยุดพักที่สามชุก เพราะได้เวลาค่ำพอดี นอกจากนั้นยังเป็นที่ที่พวกกระเหรี่ยงนำของจากป่า บรรทุกเกวียนมาขายให้พ่อค้าทางเรือ และซื้อของจำเป็นกลับไป ในสมัยหนึ่งบ้านสามชุกขึ้นกับอำเภอเดิมบางนางบวช เมื่อปี พ.ศ. 2437 ต่อมาปี พ.ศ. 2454 จึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งบริเวณหมู่บ้านสำเพ็ง และเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอสามชุกเมื่อปี พ.ศ. 2457 มีเนื้อที่ 362 ตารางกิโลเมตร มี 7 […]

บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ

บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ  บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เป็นบึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,700 ไร่ อยู่ห่างจากตัวเมืองสุพรรณบุรีประมาณ 64 กิโลเมตร บึงฉวากมีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทและอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนที่อยู่ในเขตอำเภอเดิมบางนางบวชมีพื้นที่ประมาณ 1,700 ไร่ บึงฉวากได้รับประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2526 และในปี พ.ศ. 2541 ได้รับการจัดให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ ตามอนุสัญญาแรมซาร์ที่ประเทศไทยเป็นภาคี เนื่องจากความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีในบึง ลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ คือพื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชี้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือน้ำท่วมถาวรหรือชั่วคราว ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล แหล่งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงชายฝั่งทะเลและทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดต่ำสุด น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งบึงฉวากเข้าข่ายลักษณะดังกล่าว คือเป็นบึงน้ำจืดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1 – 3 เมตร สถานที่ท่องเที่ยวภายในบึงฉวาก โซนสวนสัตว์ ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก สร้างขึ้นเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว […]