นาเฮียใช้

ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย (นาเฮียใช้)

  ณ สถานที่นี้ นอกจากรูปแบบที่แสดงถึงความเป็นบ้านเรือนไทยที่งดงามแล้ว ที่นี้ยังเป็นที่ที่รวบรวมเรื่องราว และองค์ความรู้ในวิถีของเกษตรกรที่ทรงคุณค่า เพียงก้าวแรกที่ได้เห็น ทำให้หวนคิดถึงภาพอดีต ภาพวิถีแห่งท้องทุ่ง ยุ้งฉาง ไอ้ทุยควายไทย และเครื่องมือในการดำรงชีวิติของผู้คนในถิ่นนี้ แค่อยากจะบอกว่า ถ้ามาสุพรรณ อย่าพลาดเข้ามาแวะเยี่ยมชมสถานที่ที่เป็น จิตวิญญาณ ของชาวนาไทย … แห่งนี้

Lifestyle and Spirit of Thai Farmers Learning Center.

With a career that is related to rice and farmers, there is the opportunity to meet the farmers and get to know them very well. This shows us the problems and opportunities of farmers and is the seed from which this place grew. We wish to have it to be a proper learning source for the present environment. Operational cost are reduced and the product is improved for farmers, which can make them more successful. Moreover, this preserves the culture of their ancestors. All this will give visitors a better understanding of Thailand.

จุดเริ่มต้น และที่มาก่อนจะเป็น ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย

จากจีนแผ่นดินใหญ่  บิดาและมารดาของ คุณพิชัย เจริญธรรมรักษา (เฮียใช้ ) หนีความแห้งแล้งเข้ามาตั้งรกรากที่ตำบลสวนแตง และย้ายมาอยู่ที่ อู่ยาในเวลาต่อมา มารดาประกอบอาชีพ หาบของแลกข้าวเปลือก ขายข้าวแกง ร้านกาแฟ และร้านขายของชำ ตามลำดับ เมื่อเฮียใช้เติบโตขึ้น ได้เข้ามาช่วยครอบครัวในการรับซื้อข้าวเปลือก ในปี พ.ศ. 2540 ครอบครัวได้ตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพ จากรับซื้อข้าวเปลือกมาเป็นการรวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อการค้าโดยมีลูกๆคอยช่วยดูแล ภายใต้เครื่องหมายการค้า “เฮียใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว”

ผู้ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้วิถีชิวิตและจิตวิญาณชาวนาไทย

นายนิทัศน์ เจริญธรรมรักษา บุตรชาย ของเฮียใช้ หลังจากจบมัธยมศึกษาตอนปลายได้ออกมาช่วยบิดาประกอบอาชีพรับซื้อข้าวเปลือกในปี พ.ศ.2534 ต่อมาได้ค้นพบว่าตัวเองไม่เหมาะสมกับอาชีพนี้จึงได้ตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพ จากซื้อข้าวเปลือกมาเป็นการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ในปี พ.ศ. 2540 โดยเริ่มทำจากจุดเล็กๆ เรียนรู้ลองผิดลองถูกค้นหาเกษตรกรที่มีความขยันซื่อสัตย์ พัฒนาระบบเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อที่จะนำมาซึ่งเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีความบริสุทธิ์สูง ได้มีความคิดริเริ่มก่อตั้งศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทยขึ้น เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้ที่มีความสนใจศึกษาหาความรู้เรื่องข้าว และวิถีชีวิตชาวนาไทยในอดีต เพื่อเป็นการตอบแทนชาวนาผู้มีพระคุณ และแผ่นดินเกิด

สถานที่น่าสนใจภายในศูนย์เรียนรู้วิถีชิวิตและจิตวิญาณชาวนาไทย

เรือนศูนย์รวมดวงใจไทยทั้งชาติ เรือนแห่งคุณค่าจากความตั้งใจในการแสดงความจงรักภักดีต่อพ่อหลวงของแผ่นดิน เรือนหลังนี้ได้สร้างสรรค์รูปแบบที่มีความโดดเด่นงดงามเป็นพิเศษ ภายในมีการจัดแสดงพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ พระบรมฉายาลักษณ์ในพระราชกรณียกิจต่างๆ จัดแสดงพระบรมรูป และพระบรม

สาทิสลักษณ์ราชวงศ์จักรี ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 9 และนอกจากนั้น ยังมีรูปบุคคลสำคัญๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการพัฒนาวงการข้าวไทย การสร้างศูนย์การเรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย ทั้งข้าราชการและประชาชนซึ่งเป็นบุคคลสำคัญยิ่งเรือนหลังนี้ คือเรือนแห่งคุณค่าทางจิตใจ

แปลงนาสาธิต การสาธิตชนิดพันธุ์ข้าวนาปรังทุกชนิดที่นิยมปลูกในปัจจุบัน สาธิตการอนุรักษ์การพัฒนาพันธุ์ข้าว เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เยี่ยมชม และชาวนาได้มีความรู้ในการเลือกพันธุ์ข้าวได้อย่างเหมาะสม โดยแปลงนาสาธิตนี้จะทำการปักดำทุกวันที่ 1 ของเดือน ด้วยกล้าเพียงต้นเดียว ต่อ 1 กอ เพื่อให้เห็นความสามารถในการแตกกอของต้นข้าว และ
ให้ชาวนาได้ศึกษาในทุกระยะการเติบโตของข้าว

เรือนวิถีชีวิตชาวนาไทยในอดีต การก่อสร้างเรือนไทยด้วยความประณีตวิจิตรบรรจง การออกแบบที่คงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ด้วยรูปทรงประกอบด้วยเรือนไทย 3 หลัง คือ เรือนไทยหลังใหญ่ เรือนลูกซ้าย เรือนลูกขวา และครัวไฟ อันเป็นสถานที่ประกอบอาหารในอดีต เรือนวิถีชีวิตชาวนาไทยในอดีต เป็นเรือนไทยยกพื้นสูง ใต้ถุนเป็นสถานที่จัดแสดงอุปกรณ์เครื่องใช้ในอดีต เช่น อุปกรณ์หีบอ้อย ซึ่งรวบรวมไว้หลายแบบ แสดงถึงภูมิปัญญาไทยในการออกแบบ

เรือนพระแม่โพสพ องค์พระแม่โพสพทำมาจากไม้สักผ่านฝีมือการแกะสลักอย่างประณีตงดงาม เป็นองค์พระแม่โพสพประคองรวงข้าวอันเป็นการสื่อความหมายถึงการทะนุถนอมประดุจ แม่ประคองลูกอย่างอบอุ่น ภายในเรือนยังมีรูปหล่อพระแม่โพสพในยุคต่างๆตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระแม่โพสพ ที่หล่อในปี 2500 โดยได้จัดพิธีพุทธาภิเษกที่ท้องสนามหลวง โดยเรียกองค์พระแม่โพสพในยุคนี้ว่า “รุ่น 25 ศตวรรษ” จัดแสดงพระแม่โพสพและพิธีกรรมต่างๆ ครั้งในอดีตในช่วงการทำนา เพื่อให้ชาวนาและ คนรุ่นหลังเข้าใจในวัฒนธรรมที่ได้สืบต่อกันมา และอนุรักษ์มิให้สูญหา

ยุ้งเก็บข้าว ที่จำลองแบบจากอดีตอย่างครบถ้วน นอกจากนี้ ได้มีการจัดแสดงอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น เครื่องมือในการทำนา เครื่องมือในการดักจับปลา และเครื่องมือ ในการทำงานไม้ รวมทั้งคอกควายซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญอีก ส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวนาไทยแต่ดั้งเดิม

เรือนหนังสือพระราชกรณียกิจและเรือนหนังสือข้าว ก่อสร้างเป็นเรือนไทยทรงปั้นหยา จำลองรูปแบบให้เหมือนโรงเรียนในสมัยอดีต ภายในเรือนเก็บรวบรวมหนังสือพระราชกรณียกิจตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หนังสือข้าว และองค์ความรู้ต่างๆ ที่สามารถค้นคว้าได้จากแหล่งเรียนรู้แห่งนี้

หอเตือนภัยชาวนา ก่อสร้างเป็นหอคอยสูง 3 ชั้น ความสูง 14.5 เมตร ก่อสร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง ออกแบบด้วยความประณีตเป็นเอกลักษณ์ มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักผู้เข้าชมจำนวนมากได้อย่างปลอดภัย และยังเป็นจุดชมทัศนียภาพที่สวยงามจุดหนึ่ง ผู้เข้าชม สามารถมองทัศนียภาพรอบๆได้อย่างงดงาม

ร้านโชห่วย หรือร้านขายของในอดีต เป็นการจำลองรูปแบบของร้านค้าในอดีตซึ่งได้เก็บรวบรวมส่วนประกอบต่างๆของร้านค้าในอดีต ไม่ว่าจะเป็นชั้นวางสินค้า โต๊ะและ เก้าอี้ รวมทั้งสินค้าที่เคยจำหน่าย ในครั้งอดีตซึ่งใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นลอตเตอรี่เก่าสมัยก่อน

มีร้านอาหาร ร้านกาแฟ ในบรรยากาศการตกแต่งที่กลมกลืน

ศูนย์จำหน่ายอาหารและของฝาก นอกจากจะเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงศึกษาเรื่องข้าว และวิถีชีวิตชาวนาไทยในอดีตแล้ว ยังสามารถเลือกซื้อของฝากติดไม้ติดมือ กลับบ้านกันได้อีกด้วย โดยสินค้าหลักเป็นข้าวเพื่อสุขภาพหลายชนิดพันธุ์ ที่เป็นที่นิยมของแต่ละภูมิภาค เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวทับทิมชุมแพ ข้าวเหลืองอ่อน ข้าวเหนียวลืมผัว และข้าวนาปรังที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม ในรูปแบบของข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ และข้าวขาว บรรจุอยู่ในแพ็คสูญญากาศเพื่อสะดวกในการเก็บรักษาได้นานโดยไม่เสื่อมสภาพ นอกจากนั้นยังมีผักต่างๆที่ปลูกในโรงเรือนปลอดสารเคมี เสื้อที่ระลึกของศูนย์เรียนรู้ฯ

150/ 8, Mu 2 Rd, Ban Pho, Mueang Suphan Buri District,
Suphan Buri 72000
150/2 หมู่ 8 ต.บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000
โทร : 092-6261515 FAX : 035-446954

เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-18.00 น.

ผู้ที่สนใจเยี่ยมชมทั่วไป ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
สนใจติดต่อดูงานเป็นหมุ่คณะ : 092-6261515
E-mail : H.chai_riceseed@hotmail.com


ค่าพิกัด GPS   14.495350, 100.058935